วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำสับปะรดกวน

ขั้นตอนการทำสับปะรดกวน


ส่วนประกอบ
  • สับปะรด                                     5           ผล
  • แบะแซ                                     1/2         ถ้วย
  • น้ำตาลทราย                                  3           ขีด
  • เกลือป่น                                    1/2         ช้อนชา


วิธีทำ
  1. ปลอกสับปะรดเฉือนตาออกล้างน้ำให้สะอาด แล้วสับๆๆเนื้อสับปะรดให้ค่อนข้างละเอียด
  2. นำสับปะรดมาคั้นๆกับน้ำสะอาดเอาน้ำทิ้งไปแล้วนำเนื้อสับปะรดที่ได้ทั้งหมดใส่ลังถึงนึ่งให้สับปะรดสุกดี
  3. ตั้งกระทะทองเหลืองใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำสะอาดลงไปสัก 2 ถ้วยครึ่ง เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวไปเรื่อยๆจนกระทั่งน้ำตาลทรายเริ่มเป็นน้ำเชื่อมจึงค่อยใส่เนื้อสับปะรดลงไปเติมและแซลงไปฟสมดรยเกลือป่นสักครึ่งช้อนชา คนๆ กฟนๆ ไปเรื่อยๆ ให้สับปะรดกวนเริ่มเหนียวเป็นเงา ใช้ไฟค่อนข้างอ่อนคอยกวนเรื่อยๆ เมื่อเนื้อสับปะรดเหนียวและข้นจัดแล้วจึงค่อยตักใส่จานแบ่งไว้รับประทาน และเราสามารถเก็บได้เป็นเวลานาน






ข้อมูลสับปะรด

               



             สับปะรด (Ananas comosus) เป็นไม้ผลเขตร้อน ที่จัดอยู่ในวงศ์ Bromeliaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ของทวีปอเมริกาใต้ นักเดินเรือ ชาวสเปนและโปรตุเกส เป็น ผู้นำสับปะรดไปเผยแพร่ยังยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชียในราว ศตวรรษที่ 16 และแพร่เข้ามายัง ประเทศไทยราวปีพ.ศ.2213- 2243
ถึงแม้ว่าสับปะรดมิได้ เป็นพืชพื้นเมืองของไทย แต่ก็ สามารถเจริญเติบโตและแพร่ กระจายได้ดีในประเทศไทย เนื่องจากสับปะรดที่ปลูกรับประทานผลกันอยู่ เป็นพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ด จึงต้องมีการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของลำต้น (vegetative parts) เช่น หน่อ จุกและตะเกียง แต่เนื่องจากมีการปลูก และขยายพันธุ์กันมานานจนมีลักษณะกลายพันธุ์เดิมไปตามลำดับ บางพันธุ์มีลักษณะคล้ายพันธุ์ป่า คือมีต้นสูงใหญ่ มีหนามมาก และมีผลเล็ก สำหรับสับปะรดพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน จะได้รับการ คัดเลือกจากต้นที่มีลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ต้นเตี้ย หนามน้อย ผลเป็น รูปทรงกระบอก และมีอายุถึงวันเก็บเกี่ยวสั้น
พันธุ์สับปะรดที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย ได้แก่



พันธุ์ศรีราชา หรือเรียกว่า พันธุ์ปัตตาเวียเป็นพันธุ์ที่ปลูกกันแพร่หลายที่สุดเนื่องจากเป็นที่นิยมของตลาดบริโภคสดและโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง (canned pineapple) น้ำสับปะรด สับปะรดกวน สับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง แยมสับปะรด
ผลมีทั้งทรงกระบอกและทรงเจดีย์ปลายแหลม ปลายผลมีจุก ตาแบนเรียบ ผิวเปลือกระหว่างขอบตาเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดเป็นสีน้ำตาลอมแดง เนื้อแน่นละเอียด สีเหลือง ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม กลางผลมีไส้แข็งเหนียวเวลากินต้องตัดออกผลมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 กิโลกรัม ไม่ตอบสนองต่อสารเคมีเร่งดอกเท่าพันธุ์อื่นๆ เนื้อมีกมีสีซีดและมีกรดจัดในฤดูหนาว

พันธุ์นางแล : เป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศมาปลูกที่ ต.นางแล อ.แม่จัน จ.เชียงราย จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มีปลูกเป็นการค้ามากที่ ต. นางแลและบริเวณใกล้เคียง ผลมีขนาดเล็ก ทรงค่อนข้างกลมปลายผลไม่มีตะเกียง ตานูน เปลือกบาง ทำให้ขนส่งทางไกลทำได้ไม่ดีนักเมื่ออ่อนเปลือกสีเขียว เมื่อแก่เปลือกสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น สีเหลือง ฉ่ำน้ำ รสหวานจัด กลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง กลางผลมีไส้ขนาดเล็กค่อนข้างแข็ง ขนาดของผล 1-1.5 กิโลกรัม สับปะรดนางแลเป็นพันธุ์ที่ตอบสนองต่อถ่านแก๊สดี ไม่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง


พันธุ์ภูเก็ต : เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น พันธุ์สวี พันธุ์ชุมพร พันธุ์ตราดสีทอง เป็นต้น เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากในจังหวัดภูเก็ต ชุมพร นครศรีธรรมราช ตราด เป็นพันธุ์ที่ทนทานกว่าสับปะรดพันธุ์อื่นๆและเป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคกันมาก ผลรูปทรงกระบอก ปลายผลมีตะเกียง เปลือกหนา สีเหลืองอมส้ม เมื่อแก่จัดเป็นสีส้ม เนื้อละเอียดสีเหลืองเข้ม กรอบ รสหวาน กลิ่นหอม ไส้กลางผลมีขนาดเล็ก ค่อนข้างแข็งและกรอบน้ำหนักเฉลี่ย 1,024.5 กรัม ผลกว้างเฉลี่ย 10.3 ซม. ผลยาวเฉลี่ย 16.3 ซม. ตอบสนองต่อสารเคมีเร่งดอกได้ดี แต่ไม่เหมาะต่อการส่งโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีตาลึก ทำให้ต้องเฉือนเปลือกติดเนื้อไปมาก


พันธุ์ภูแล : ผลเล็ก ทรงกระบอก ปลายผลมีจุก เปลือกหนา ผลดิบเปลือกสีเขียว ผลแก่สีเหลืองอมส้ม เมื่อสุกจัดเป็นสีส้ม เนื้อสีเหลืองอ่อน กรอบ หวาน ไม่ฉ่ำน้ำ กลิ่นหอม น้ำหนัก   4-5 ผลต่อกิโลกรัม






พันธุ์อินทรชิต : เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย มีปลูกกันกระจัดกระจายทั่วไปแต่แหล่งปลูกที่สำคัญคือจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลมจนถึงทรงกระบอก ผลย่อนนูนเด่นชัด ตาใหญ่ลึก เปลือกเหนียวทนทานต่อการขนส่ง เมื่อแก่เปลือกมีสีเหลืองอ่อนปนเขียว เนื้อมีเส้นใยมาก สีเหลือง ไม่หอมจัด รสหวานอร่อย ค่อนข้างเปรี้ยว น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ตอยสนองต่อสารเคมีเร่งดอกได้ดี ไม่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระป๋อง ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหารเป็นหลักและใช้รับประทานสด



วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม


นายเอกชัย จึงประเสริฐ ม.6/2 เลขที่ 2

นายณภัทร ศรีเนตร ม.6/2 เลขที่ 11

นายนายไพรัตน์ วงษคำ ม.6/2 เลขที่ 12

นายศุภกร จัตกุล ม.6/2 เลขที่ 21

นายปิยะบุตร ถนอมเกียรติ ม.6/2 เลขที่ 24

นายดุลทเดช แสนวิเศษ ม.6/2 เลขที่ 25

นายศุภกร แก่นพุทรา ม.6/2 เลขที่ 27
นายลัทธพล รอดระหงษ์ ม.6/2 เลขที่ 28


นายณัฐภัทร หงษ์ทอง ม.6/2 เลขที่ 33



นายธรรมปพน วู ม.6/2 เลขที่ 36